ที่กินในญี่ปุ่น

สัมผัสประสบการณ์เกี่ยวกับเหล้าบ๊วยที่มีประวัติศาสตร์อย่างยาวนาน

หัวข้อที่เกี่ยว
|

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเรียกได้ว่าในประเทศไทยเกิดกระแสความนิยมในอุเมะชุ หรือเหล้าบ๊วยของประเทศญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก หลายคนก็ได้มีการลองหมักเหล้าบ๊วยด้วยตนเอง มาถึงประเทศต้นตำรับอย่างเหล้าบ๊วยทั้งที ก็ไม่ควรพลาดในการได้ชิมรสชาติจากต้นตำรับ ใครที่ชอบการท่องเที่ยวแบบเน้นสัมผัสวัฒนธรรม ประสบการณ์  โดยครั้งนี้เราจะขอแนะนำเทศกาลเหล้าบ๊วยและร้านเหล้าบ๊วยที่อยู่ในภูมิภาคคันไซ

ประวัติความเป็นมาโดยย่อของเหล้าบ๊วย

ประวัติความเป็นมาของเหล้าบ๊วยนั้น อยู่คู่กับประเทศญี่ปุ่นมากกว่า 2000 ปี นับตั้งแต่ได้มีการนำเอาต้นบ๊วยเข้ามาปลูกในประเทศญี่ปุ่น ช่วงศตวรรษที่ 14 คนญี่ปุ่นดื่มเหล้าบ๊วยเป็นยาเพื่อให้สุขภาพแข็งแรงและป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ และเมื่อมาถึงยุคเอโดะ เหล้าบ๊วยได้แพร่หลายไปยังประชากรทั่วไป และได้มีการสร้างโรงหมักเหล้าบ๊วย ซึ่งเหล้าบ๊วยนี้เป็นเครื่องดื่มยอดนิยมของสตรีและเด็กในสมัยนั้น เมื่อเข้าสู่สมัยเมจิหรือศตวรรษที่ 19 ได้มีการพัฒนารูปแบบของวิธีการทำเหล้าบ๊วยโดยกำหนดให้มีการหมักเหล้าบ๊วยด้วยเกลือและน้ำตาล โดยต่อมาจะเป็นรูปแบบของเหล้าบ๊วยในปัจจุบัน จนกระทั่งเมื่อถึงช่วงปี 1970 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  เหล้าบ๊วยก็ได้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง

เทศกาลเหล้าบ๊วย ณ เมืองเกียวโต

เครดิตภาพ : https://umeshu-matsuri.jp/whatumeshumatsuri/

ในประเทศญี่ปุ่นเองก็จะมีการจัดงานเทศกาลเหล้าบ๊วยจากทั่วประเทศทุกปีที่ตามหัวเมืองใหญ่ต่าง ๆ ถ้าหากใครที่ชื่นชอบเหล้าบ๊วยและมีแผนจะมาเมืองเกียวโต ในวันที่ 16-19 พฤศจิกายน สามารถมางานเทศกาลเหล้าบ๊วยซึ่งจัดที่ศาลเจ้าคิตะโนะเทนมังงู เมืองเกียวโตได้

เครดิตภาพ : https://umeshu-matsuri.jp/whatumeshumatsuri/

โดยภายในงานจะรวมเหล้าบ๊วยจากทั่วประเทศ จำนวนมากกว่า 150 ชนิด มาให้ลิ้มลองกัน นอกจากนี้ยังมีเมนูเหล้าบ๊วยที่ผสมกับวัตถุดิบหรือเครื่องดื่มชนิดอื่น อาทิเช่น กาแฟ เบียร์ หรือไอศกรีมรสวานิลา

ใครที่สนใจสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://umeshu-matsuri.jp/kyoto/

และต้องมีการซื้อตั๋วเข้างานล่วงหน้าได้ที่เซเว่นอีเลเว่นทุกสาขา


ต่อมาเราจะมาแนะนำสามร้านเหล้าบ๊วยที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคคันไซ สำหรับคนที่อยากทดลองทำเหล้าบ๊วยหรือสัมผัสกับเหล้าบ๊วยกันค่ะ

1.ร้านโชยะ Choya เมืองเกียวโต

เครดิตภาพ : https://choyaume.jp/pages/kyoto

เป็นร้านที่สามารถลิ้มรสเหล้าบ๊วยและสามารถสัมผัสประสบการณ์ในการลงมือทำเหล้าบ๊วยด้วยตนเอง โดยจะรับรอบละ 6 คน สามารถเข้าไปจองได้ที่ https://select-type.com/rsv/?id=6PwSqtp4YfE&c_id=240071

แต่ถ้าหากใครไม่สะดวกทางร้านมีบริการสามารถซื้อเซ็ททำเหล้าบ๊วย โดยราคาจะแตกต่างกันไปตามความใหญ่ของขวดที่เราจะใช้หมักเหล้าบ๊วย และถ้าต้องการบ๊วยแบบพรีเมียมก็สามารถเพิ่มเงินได้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://choyaume.jp/pages/kyoto

นอกจากนี้ยังมีเครื่องดื่มจำหน่าย คือ เหล้าบ๊วยแบบเย็นและแบบร้อนเหล้าบ๊วยแบบร้อนราคา 450 เยน และแบบเย็นราคา 550 เยน โดยจะมีเฉพาะแบบเทคเอ้าท์เท่านั้นไม่มีแบบนั่งรับประทานที่ร้าน  (เครดิตภาพ: https://choyaume.jp/pages/kyoto )

และยังมีเหล้าบ๊วยสูตรเฉพาะของทางร้านให้เลือกซื้อเป็นของฝากกลับบ้านกันอีกด้วย

เหล้าบ๊วยสูตรเฉพาะของทางร้าน ขนาด 500 ML ราคา 3,300 เยน (เครดิตภาพ: https://choyaume.jp/pages/kyoto)

ปล. ร้านมีสองสาขา ที่เกียวโตและคามาคุระ ใครที่มีแผนไปเกียวโตลองไปที่สาขาเมืองคามาคุระได้นะคะ

ข้อมูลเพิ่มเติม

เวลาทำการ 10:00-17:00 น.

วันหยุด :ช่วงสิ้นปีและปีใหม่

วิธีชำระเงิน :เงินสดและบัตรเครดิต

ที่อยู่: CASA ALA MODE ROKKAKU 1F, 108 Higashi iruhorinouchi-cho,Rokkakudori sakai machi,

Nakagyo, Kyoto-shi, Kyoto 604-8117

การเดินทาง : เดินจากสถานีรถไฟใต้ดิน Kamakura no ige 7 นาที หรือเดินจากสถานีรถไฟสายฮันคิว Karasuma 8 นาที

 Instagram https://www.instagram.com/choyaume_taiken/

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ : https://choyaume.jp/pages/kyoto

2.Ume kan เมืองวากายามะ

เครดิตภาพ : http://www.umekan.com/umekan/baiten.html

สำหรับใครที่อยากเปลี่ยนบรรยากาศจากเมืองเกียวโตไปยังเมืองวากายามะ ก็สามารถไปทดลองทำเหล้าบ๊วยได้ที่อุเมะคัง ซึ่งแต่เดิมอุเมะคังเป็นร้านที่จำหน่ายบ๊วยดอง มีทั้งผลิตภัณฑ์มากมายเกี่ยวกับบ๊วยดอง และยังมีการเที่ยวชมโรงงาน รวมถึงโปรแกรมสัมผัสประสบการณ์เกี่ยวกับบ๊วย โดยมีโปรแกรมให้เลือกสามแบบ คือ หมักเหล้าบ๊วย ลองทำบ๊วยดอง และทำเครื่องดื่มจากบ๊วย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.umekan.com/taiken/

โปรแกรมหมักเหล้าบ๊วยจะเริ่มตั้งแต่เวลา 10:30-14:30 มีค่าใช้จ่าย 2,200 เยน ใช้เวลา 30 นาที จุดเด่นคือสามารถทำเหล้าบ๊วยได้ทั้งหมด 3 แบบ

วิธีการทำเหล้าบ๊วย (เครดิตภาพ: http://www.umekan.com/taiken/)

สามารถจองผ่านเว็บไซต์ https://airrsv.net/umeboshi/calendar

ข้อมูลเพิ่มเติม ที่อยู่ : 1339  Yamauchi, Minabe, Hidaka, Wakayama 645-0012

การเดินทาง :เดินทางด้วยรถยนต์ โดยระยะทางอยู่ห่างจากหาด ชิรามาสึ 40  นาที ส่วนใครที่อยากจะเดินทางด้วยรถไฟสามารถนั่งรถไฟสาย JR สาย Kinokuni มายังสถานที Minabe และเดินต่ออีก 20 นาที

http://www.umekan.com/access.html

เวลาทำการ : 08:30-17:00

เบอร์โทรศัพท์ 0739-72-2151

วันหยุดทำการ  วันที่ 1 มกราคม

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ http://www.umekan.com/

3.ume to hachi

ภาพบรรยากาศในร้าน เครดิตภาพ :https://www.instagram.com/p/CtoU5mpBFtX/

พากลับมายังโอซาก้า สำหรับสายชอบดื่มเหล้าบ๊วย จะมีบาร์แห่งหนึ่งซึ่งอยู่บริเวณเท็นมะ ซึ่งจะมีเหล้าบ๊วยมากกว่า 300 ชนิดให้เลือกดื่ม คอนเซ็ปของร้านคือเป็นสถานที่ที่ผู้ที่รักการดื่มเหล้าบ๊วยเป็นชีวิตจิตใจกับผู้ที่เพิ่งหัดเริ่มดื่มเหล้าบ๊วยสามารถมารวมตัวกัน เพื่อสนุกสนานและสร้างสรรค์เมนูเหล้าบ๊วยแบบใหม่ร่วมกัน

บรรยากาศในร้านจะเป็นแบบผ่อนคลาย สามารถลิ้มรสและเรียนรู้เกี่ยวกับเหล้าบ๊วยได้ ออกแบบให้เหมือนเป็นบ้านหลังที่สองของเหล่าผู้รักการดื่มเหล้าบ๊วย

สามารถจองลวงหน้าได้ที่ https://umetohachi.hp.peraichi.com/?_ga=2.67911121.1753080679.1679719005-84410493.1675080483

ที่นั่งเป็นแบบเค้าเตอร์บาร์ ตั้งแต่เวลา 21:00 เป็นต้นไปทางร้านจะเมนูของหวานพิเศษ เสิร์ฟตกดึกจะมีการเปลี่ยนสีไฟเป็นสีชมพูให้บรรยากาศที่ดูเซ็กซี่ เครดิตภาพ https://www.instagram.com/p/CrDPa0LvC8Q/

ข้อมูลเพิ่มเติม

ที่อยู่ : ตึกกรีน เซกิโนะ ชั้น 1, 2-2 Yamazaki-cho, Kita-ku, Osaka-shi, Osaka 530-0024

เวลาทำการ 16:00-00:00 ( LO: 23:00 )

วันหยุด ทุกวันอังคารและพุธ

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ https://umetohachi.hp.peraichi.com/?_ga=2.67911121.1753080679.1679719005-84410493.1675080483

Instagram https://www.instagram.com/umetohachi/

การเดินทาง เดินจากสถานี JR Tenma 5 นาที

ข้อมูลในหน้านี้อาจมีข้อมูลในวันที่เผยแพร่ แม้ว่าเราจะพยายามอัปเดตข้อมูลอย่างต่อเนื่อง แต่โปรดทราบว่าข้อมูลบางอย่างอาจไม่ได้รับการอัปเดต
ABOUT ME
Pleng Chayaporn
เวลารู้สึกเหนื่อย ๆ จะพกกล้องและออกเดินทางไปเที่ยวคนเดียว หรือออกไปเดินหาร้านกาแฟ ร้านอาหารในท้องถิ่นเพื่อไปสัมผัสกับบรรยากาศ ผู้คนและวัฒนธรรมในที่แห่งนั้น
RELATED POST

ถ้าคุณชอบบทความนี้
กด "ถูกใจ" ด้วย!

กด “ถูกใจ” และรับข้อมูลล่าสุด!